วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากร นักศึกษาปัจจุบัน นักศึกษาเก่า และชุมชนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย

2. เพื่อหาทุนดำเนินการวิ่งการกุศล และเมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด จะได้นำเงินสมทบ.ทุนการปรับปรุงตึกสุจิณโณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลสวนดอก)

3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนงานวิชาการในมหาวิทยาลัย สำนักงานหอพักนักศึกษา สมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาคมนักศึกษาเก่าคณะต่าง ๆ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ให้การสนับสนุนโครงการและชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่

ประเภท

กำหนดการ

วันกิจกรรม :::

ส่งผลในช่วงวันที่ 1-14 กุมภาพันธ์ 2564 เท่านั้น

>> สามารถส่งข้อมูลได้ในเวลา 00:01 น. ของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

>> และสิ้นสุดเวลา 23:59 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564

 

วันจัดส่งอุปกรณ์ :::

>> สรุปผลภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564

>> และดำเนินการจัดส่งอุปกรณ์ช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์

กติกา

กติกาการแข่งขัน 

  1. ผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องลงทะเบียน และชำระเงินใน “เว็บ”ของการแข่งขัน https://www.cmu-marathon.com/ โดยระบุข้อมูลระยะที่เข้าร่วมคือ มินิมาราธอน หรือ ฮาล์ฟมาราธอน หรือ ฟูลมาราธอน และให้ข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วน ทั้งนี้ผู้ที่เข้าร่วมแข่งขันในระยะมินิ มาราธอน ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีเพื่อร่วมแข่งขันในระยะฮาล์ฟมาราธอน และฟูลมาราธอน ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนวันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 เวลา 10:00 น. จนถึงวันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม 2563 เวลา 15:00 น.
  2. ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องทำการวิ่งตามระยะทางที่กำหนดไว้ในรุ่นนั้น ๆ โดยต้องส่งผลการวิ่งใน “แอปพลิเคชัน” ที่กำหนด โดยมีรูปแบบข้อมูลซึ่งจะแจ้งให้ทราบโดยละเอียดอีกครั้ง ผู้เข้าร่วมต้องวางแผนการวิ่งให้ดี สามารถวิ่งครั้งเดียว หรือหลายครั้งเพื่อรวมระยะวิ่ง แต่จำนวนครั้งของการส่งผลต้องไม่เกินที่กำหนด และต้องส่งผลในช่วงวันที่ 1-14 กุมภาพันธ์ 2564 เท่านั้น สามารถส่งข้อมูลได้ในเวลา 00:01 น. ของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 และสิ้นสุดเวลา 23:59 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564
  3. โดยสามารถส่งผลระยะ และเวลาได้ไม่เกินสองครั้งสำหรับการวิ่งระยะมินิมาราธอน ไม่เกินสองครั้งสำหรับการวิ่งระยะฮาล์ฟมาราธอน และไม่เกินสี่ครั้งสำหรับการวิ่งระยะฟูลมาราธอน นักวิ่งตัองรับผิดชอบส่งผลที่รวมระยะให้ได้ตามที่กำหนดเอง และต้องรับผิดชอบดูแลความปลอดภัยระหว่างวิ่งของตน ผู้จัดการแข่งขันจะไม่มีส่วนรับผิดชอบในความปลอดภัยดังกล่าว
  4. แอปพลิเคชันจะเปิดให้ทดสอบการส่งข้อมูลการวิ่งในระบบระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ขอให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันเข้าร่วมการทดสอบดังกล่าว
  5. แอปพลิเคชันข้างต้น จะรวมระยะทาง และเวลาที่ส่งผลกิจกรรม เช่น ผู้เข้าร่วมสมัครระยะ 10.5 กม. แบ่งเป็นวิ่ง 2 ครั้ง 5.25 กม. ที่ 30 นาที และรอบที่สอง 5.25 กม. ที่ 32 นาที ระบบจะรวมระยะทาง และเวลาเป็น 10.5 กม. ในเวลา 1 ชั่วโมง 2 นาทีตามลำดับ หากส่งผลไม่ครบระยะทางในครั้งสุดท้าย ระบบจะแจ้งเตือน หากส่งผลไม่ครบจะถือว่าวิ่งไม่ครบระยะทาง หากส่งข้อมูลวิ่งเกินระยะทางระบบจะประมวลผลให้ได้โดยอาศัยค่าเฉลี่ยเป็นหลัก
  6. ผู้เข้าร่วมต้องส่งข้อมูลของการวิ่งที่ได้วิ่งจริงระหว่าง 00:01 น. ของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และสิ้นสุดเวลา 23:59 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เท่านั้น และขอสงวนสิทธิ์นับระยะเฉพาะการวิ่งหรือการเดินเท่านั้น ไม่รวมการออกกำลังกายอย่างอื่น อาทิ ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน
  7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องซื่อสัตย์ต่อการแข่งขัน ผู้จัดงานไม่ปรารถนาตรวจสอบเจตนาหรือความจงใจที่ไม่บริสุทธิ์ใด ๆ
  8. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Virtual Run จะได้รับ เสื้อวิ่ง, e-Bib, e-Certificate และได้รับเสื้อ Finisher พร้อมเหรียญ หลังการส่งผลอย่างถูกต้อง และตามที่สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมที่ได้ประกาศไว้ ซึ่งจะถูกจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ต่อไป นักวิ่งหญิง และนักวิ่งชายที่ทำเวลาได้ดีที่สุดของแต่ละระยะ จะได้รับของขวัญสมนาคุณพิเศษจากผู้จัดการแข่งขัน
  9. ไม่อนุญาตในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้สมัคร ระยะทาง หรือโอนชื่อให้ผู้อื่น หลังการลงทะเบียนการแข่งขันทุกกรณี

 

กติกาการส่งข้อมูล

  1. ให้ส่งผลบนแอปพลิเคชันที่ประกาศไว้ โดยสามารถส่งผลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งในสามวิธีนี้ได้แก่ submit sync, submit plus, และ manual input.  โดยต้องเลือกวิธีการส่งข้อมูลวิธีใดวิธีหนึ่งในแต่ละครั้ง และต้องตรวจสอบข้อมูล, ประเภทของการวิ่ง, เวลา, ระยะทาง, แคลอรี, น้ำหนัก, รูปภาพ ก่อนส่งผลทุกครั้ง
  2. วิธีการส่งข้อมูลแบบ Submit Sync คือ การส่งผลด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลจากแอปพลิเคชัน Garmin, Suunto, Strava, Google Fit , Apple Health วิธีนี้เป็นวิธีที่แนะนำ
  3. วิธีการส่งข้อมูลแบบ Submit Plus คือ การส่งผลด้วยการรูปภาพจากการบันทึกหน้าจอกิจกรรมจากแอปพลิเคชัน Garmin และ Strava โดยระบบจะอ่านข้อมูลจากรูปภาพ เช่น ระยะทาง เวลา จำนวนแคลอรี ของกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อส่งผลในระบบ
  4. วิธีการส่งข้อมูลแบบ Manual คือ การกรอกข้อมูลส่งผลด้วยตัวเองโดยการเลือกประเภทกีฬา พร้อมกับแนบภาพหลักฐานการออกกำลังกาย กรอกเวลา ระยะทาง และแคลอรี จากกิจกรรมนั้น ๆ  เพื่อส่งผลกิจกรรม
  5. หากผู้เข้าร่วมแข่งขันพบว่ามีการส่งผลผิดพลาด ซ้ำ ใช้ข้อมูลการวิ่งย้อนหลังหรือเกินกำหนด ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถกดรายงาน (Report) การส่งผลนั้น ๆ ได้ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบ หากพบข้อมูลที่ผิดกติกา ข้อมูลนั้น ๆ จะถูกลบผลทันที โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า